top of page

จัดตารางการทำงานตาม Sleep Chronotype ยังไงก็ไม่ง่วง

เมื่อนาฬิกาชีวิตของคนเราไม่เท่านั้นกัน ดังนั้น รูปแบบการใช้ชีวิตหรือการทำงานของแต่ละคนย่อมแตกต่างกันเป็นปกติ แล้วคุณมีนาฬิกาชีวิตแบบไหน?

Sleep Chronotype (สลีปโครโนไทป์) คือ ความแตกต่างของการนอนและการตื่นนอนของแต่ละบุคคล ซึ่งส่งผลให้นาฬิกาชีวิตของแต่ละคนนั้นไม่เหมือนกัน


บางคนอาจจะมีความ Productive ในการทำงานช่วงเช้า หรือบางคนอาจจะเป็นช่วงเย็น หรือช่วงดึก ซึ่งลักษณะของการนอนและการตื่นนอนนี้ ไม่สามารถตัดสินได้ว่าคนๆนั้นเป็นคนขยัน หรือขี้เกียจ เพียงแต่นาฬิกาชีวิตของเราไม่เหมือนกันแค่นั้น


เราสามารถแบ่งรูปแบบของ Sleep Chronotype ออกเป็น 4 ประเภทตามสัตว์ต่างๆ มาดูกันว่าคุณอยู่ในประเภทใด


หมี

ประชากรประเภทหมี มีอยู่ราวๆ 50-55% โดย Sleep Chronotype แบบหมีนั้นจะมีลักษณะดังนี้

  • นอนหลับและตื่นนอน ตามเวลาของดวงอาทิตย์

  • ชาวหมีอาจต้องใช้เวลาในการปลุกตัวเองจากที่นอนสักหน่อย ราว 90 นาที ทำให้ต้องเผื่อเวลาเตรียมตัวก่อนเริ่มทำงาน

  • ช่วงเวลาที่ Productive สุดๆ จะเป็นช่วง 10.00 - 12.00 หรือไม่เกิน 14.00 และจะค่อยๆลดลงตามลำดับ

  • และชาวหมีก็พร้อมที่จะชัดดาวน์คอมพิวเตอร์ของตนเองทันทีเมื่อถึงเวลาเลิกงาน


สิงโต

ประชากรประเภทสิงโต มีอยู่ราวๆ 15-20% โดย Sleep Chronotype แบบสิงโตนั้นจะมีลักษณะดังนี้

  • ตื่นแต่เช้าและเข้านอนเร็ว ตามวิถีเด็กอนามัย

  • ชาวสิงโตสามารถตื่นและเรื่มงานได้แบบทันที แต่เวลาพักผ่อนก็จะต้องเต็มที่ ซึ่งเป็นลักษณะของผู้นำที่ดีเลยก็ว่าได้

  • ช่วงเวลาที่ Productive สุดๆ จะเป็นช่วง 8.00 - 12.00 ส่วนในช่วงบ่ายก็สามารถทำงานต่อได้เรื่อยๆ แต่อาจจะต้องงีบซัก 10-15 นาทีเพื่อให้สดชื่นขึ้น

  • แน่นอนว่าเมื่อทำงานมาตลอดทั้งวัน ชาวสิงโตก็จะดับเครื่องทันทีเมื่อถึงเวลาพักผ่อน


หมาป่า

ประชากรประเภทหมาป่า มีอยู่ราวๆ 15-20% โดย Sleep Chronotype แบบหมาป่านั้นจะมีลักษณะดังนี้

  • นอนดึกตื่นเช้า หรือบางครั้งอาจชีวิตแบบมนุษย์ค้างคาว

  • ชาวหมาป่ามักจะเริ่มวันของพวกเค้าช้ากว่าปกติ อาจจะเป็นช่วงบ่ายหรือเย็น

  • ช่วงเวลาที่ Productive ของชาวหมาป่าอาจเริ่มต้นในช่วงบ่ายๆ และช่วง 20.00 - 23.00

  • แน่นอนว่าชาวหมาป่าจะสามารถพักผ่อนได้จริงจังในตอนดึก เป็นจังหวะที่เงียบที่สุดและเหมาะกับการพักผ่อน


โลมา


ประชากรประเภทโลมา มีอยู่ราวๆ 10-15 % โดย Sleep Chronotype แบบโลมานั้นจะมีลักษณะดังนี้

  • นอนหลับๆตื่นๆ มีความกังวลสูงมาก ทำให้หลับได้ยาก

  • ชาวโลมานั้นอาจจะมีวิสัยการนอนที่แตกต่างจากกลุ่มอื่น เนื่องจากไม่สามารถนอนได้เป็นเวลา

  • ช่วงเวลาที่ Productive ของชาวโลมามักจะอยู่ในช่วงสาย - บ่าย และตื่นตัวอีกครั้งในช่วงหลัง 18.00 ซึ่งเป็นเวลาที่คนอื่นๆเลิกงานกันแล้ว

  • เมื่อช่วงเวลาตื่นตัวของชาวโลมานั้นมาเป็นพักๆ ทำให้เกิดความวิตกกังวลกับงานได้ง่าย ส่งผลต่อการนอน ดังนั้นชาวโลมาจึงต้องมีการวางแผนการใช้ชีวิตให้รัดกุม

เมื่อรู้ตัวว่าเราอยู่ Sleep Chronotype ไหน ก็เป็นเรื่องง่ายต่อการจัดการตารางการทำงานในแต่ละวันให้เหมาะสมกับตัวเอง และงานที่ทำอยู่นั่นเอง



ภาพประกอบจาก : Freepick
 

Flare Dash แอปพลิเคชันบันทึกเวลาทำงานของพนักงาน และติดตามเส้นทางด้วย GPS ผ่านสมาร์ทโฟน


หากสนใจ คลิกที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อติดต่อเราพร้อมรับสิทธิทดลองฟรี 14 วัน




Comments


bottom of page