top of page

มาทำความรู้จัก Setup To Fail Syndrome ทำงานอะไรไปก็ไม่มีใครเห็นค่าคุณ

เคยไหม? ไม่ว่าจะทำดีแค่ไหนก็ไม่มีใครเห็นคุณค่า ทำงานอะไรไปก็โดนหัวหน้าด่าตลอด มาทำความรู้จักกับภาวะ Setup To Fail Syndrome อาการเป็นอย่างไร? และจะป้องกันได้อย่างไร?


Setup To Fail Syndrome คืออะไร?

ภาวะ Setup to fail syndrome เป็นสภาวะที่บุคคลหรือกลุ่มของบุคคล ถูกกำหนดให้ล้มเหลวในการทำงานหรือเป็นความล้มเหลวที่ไม่ได้เจตนา ซึ่งสร้างความไม่พึงพอใจต่อหัวหน้างานหรือเพื่อนร่วมงาน

โดยมีจุดสังเกตุมีหลายอย่าง เช่น ไม่ได้รับการสนับสนุนด้านการทำงาน ทรัพยากร หรือไม่มีกำหนดทิศทางการทำงานให้ชัดเจน หรือผ่านความคาดหวังและเป้าหมายที่ไม่เป็นจริง ผลลัพธ์ที่ได้คือสูญเสียขวัญกำลังใจ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน และทำให้เกิดความล้มเหลวได้ง่าย


อาการของ Setup To Fail Syndrome

อาการของบุคคลกรือกลุ่มคนที่มีภาวะ Setup To Fail Syndrome อาจมีลักษณะแตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • ขาดเป้าหมายหรือความคาดหวังที่ชัดเจน

  • ทรัพยากรไม่เพียงพอหรือขาดแรงสนับสนุนในการทำงานให้สำเร็จ

  • ทิศทางการทำงานหรือความสำคัญในการทำงานเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง

  • มีกำหนดเวลาและวัตถุประสงค์ในงานที่ไม่ชัดเจน

  • ได้รับคำวิจารณ์เชิงลบ หรือบั่นทอนจิตใจจากหัวหน้างานหรือเพื่อนร่วมงานอยู่เสมอ

  • มีความรู้สึกโดดเดี่ยวหรือขาดการทำงานเป็นทีม

  • สมาชิกในทีมเริ่มมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนหรือขาดงานเป็นประจำ

  • แรงจูงใจในการทำงานลดลง

  • มีความยากลำบากในการทำงานเพื่อให้สำเร็จผลหรือมีประสิทธิภาพ

  • ล้มเหลวในการบรรลุวัตถุประสงค์ของการทำงาน แม้จะพยายามอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม

วิธีป้องกัน Setup To Fail Syndrome

  • สอบถามเรื่องเป้าหมายและจุดประสงค์การทำงานให้ชัดเจน

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าบริษัทคาดหวังอะไรจากพนักงาน รวมถึงลักษณะของเป้าหมายและความสำเร็จที่องค์กรต้องการ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถกำหนดเป้าหมายการทำงานได้ชัดเจน และสามารถประเมินผลการทำงานได้

  • จัดหาทรัพยากรและแรงสนับสนุนให้เพียงพอ

ตรวจสอบว่าองค์กรณ์มีทรัพยากรและการสนับสนุนด้านการทำงานเพียงพอหรือไม่ เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายอาจต้องจัดหาด้านอุปกรณ์ การฝึกอบรม และการเข้าถึงข้อมูล/เทคโนโลยีต่างๆให้พร้อม

  • ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและการทำงานร่วมกัน

สร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานร่วมกันเป็นทีมที่สามารถแสดงความคิดเห็น และช่วยเหลือการทำงาน สร้างสภาพแวดล้องเชิงบวก ให้พนักงานู้สึกสบายใจที่จะทำงานร่วมกัน

  • หลีกเลี่ยงการทำงานที่มีจุดประสงค์ไม่ชัดเจน

ไม่สร้างความคาดหวังและจุดมุ่งหมายที่ไม่ชัดเจนหรือเป้าหมายที่สูงเกินความเป็นจริง หลีกเลี่ยงการกดดันในการทำงานที่มากเกินไป

  • ส่งเสริมด้านการสื่อสารภายในองค์กร

ส่งเสริมด้านการสื่อสารของพนักงานภายในองค์กรให้สามารถสื่อสารกันได้อย่างตรงไปตรงมาระหว่างหว่างหัวหน้างาน พนักงานในแผนก และเพื่อร่วมงาน เพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหาภายในองค์กร

  • ส่งเสริมทักษะการทำงานของพนักงาน

เปิดโอกาสให้พนักงานได้พัฒนาทักษะด้านใหม่บ้าง อาจจัดอบรมพัฒนาการทำงาน หรือมีการจัดกิจกรรม Workหhop ให้พนักงานได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ

  • ชื่นชมและให้รางวัลเมื่อทำงานสำเร็จ

ยกย่องและให้รางวัลบุคคล/กลุ่มบุคคลที่ทำผลงานออกมาได้ดี และร่วมแสดงความยินดีเมื่อทีมประสบผลสำเร็จในการทำงาน

  • หากมีปัญหา ควรรีบแก้ไขปัญหาตั้งแต่เนิ่นๆ

  • หากคุณเป็นหัวหน้างาน ควรทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดี



ภาพประกอบ : Freepik
 

Flare Dash แอปพลิเคชันบันทึกเวลาทำงานของพนักงาน และติดตามเส้นทางด้วย GPS ผ่านสมาร์ทโฟน


หากสนใจ คลิกที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อติดต่อเราพร้อมรับสิทธิทดลองฟรี 14 วัน


Comments


bottom of page