top of page

Digital Fatigue คืออะไร ?

Digital Fatigue คือ สภาวะเหนื่อยล้าจากดิจิทัลเนื่องจากใช้งานหรือใช้เวลาอยู่กับเครื่องมือดิจิทัลมากเกินไป ซึ่งจะทำให้เกิดความอ่อนล้าและเหนื่อยหน่ายทางจิตใจ หมดพลัง ซึ่งส่งผลเสียต่อร่างกายเราอย่างรุนแรง โดยหลักๆก็คือ ดวงตา เพราะว่า หน้าจอเครื่องดิจิทัลจะส่งแสงสีฟ้าออกมาซึ่งแสงสีฟ้านี้หากมองนานๆจะทำให้สายตาล้า และส่งผลกระทบไปถึงสมองอีกด้วย โดยในบทความนี้เราจะมาบอกวิธีจัดการและป้องกันกับภัยอันตรายอันนี้

ที่มา : pexels

Digital = ดิจิทัล Fatigue = ความเหนื่อยล้า

สาเหตุทำให้เกิดสภาวะ Digital Fatigue

  1. ใช้งานเครื่องมือดิจิทัลมากเกินไป เนื่องจากสภาวะโรคระบาด COVID-19 ทำให้หลายๆบริษัทมีนโยบาย เวิร์คฟอร์มโฮม(Work From Home) กันมากขึ้นซึ่งทำให้เราใช้เวลาอยู่ที่หน้าจอคอมมากกว่าตอนอยู่ที่บริษัทเพราะการพูดคุยปรึกษาจากเดิมที่สามารถหันหน้าไปคุยกันได้กลายเป็นต้องมาปรึกษาผ่านหน้าจอคอมพิวเตอร์แทน

  2. แสงสีฟ้าจากเครื่องมือดิจิทัล แสงสีฟ้า หรือ แสงสีน้ำเงินจากเครื่องมือดิจิทัลนี้เป็นหนึ่งในแสงที่มีอยู่ในแสงแดด ซึ่งหลายๆคนก็คิดว่าน่าจะส่งข้อดีมากกว่าข้อเสีย การคิดแบบนั้นถือว่าไม่ผิดซึ่งหากเราใช้งานในระยะเวลาที่พอเหมาะ แต่อย่าลืมว่าแสงสีฟ้านี้มากจากอุปกรณ์ดิจิทัลที่เราใช้งานในชีวิตประจำวัน ไม่ว่าจะเป็นหน้าจอคอมพิวเตอร์ สมาร์ทโฟน รวมไปถึงโทรทัศน์ ซึ่งมีคลื่นและพลังงานที่สูง ส่งผลต่อเซลล์ผิวกระจกตาและเยื่อบุตา ซึ่งทำให้เกิดอาการปวดตาแบบดิจิทัลนั่นเอง

  3. ท่าทำงานที่ไม่เหมาะสม ท่านั่งในการทำงานนั้นถือว่าสำคัญมากๆ เพราะนอกจากเราจะต้องนั่งทำงานโดยไม่ค่อยได้ขยับไปไหนแล้วยิ่งเวิร์คฟอร์มโฮม(Work From Home) ด้วยแล้วการที่จะได้ลุกออกจากหน้าจอคอมก็ยิ่งน้อยลงมากขึ้นส่งผลให้เกิดการปวดเมื่อยตามกล้ามเนื้อต่างๆและอาจจะส่งผลต่อสุขภาพจิตใจเวลาทำงานอีกด้วย

  4. โรคระบาด COVID-19 การเปลี่ยนแปลงการทำงานจากที่บริษัทเป็นที่บ้านทำให้หลายๆคน แบ่งเวลาทำงานและชีวิตส่วนตัวไม่ชัดเจน ทำให้พนักงานที่ทำงานที่บ้านรู้สึกว่าระยะเวลาทำงานเพิ่มขึ้นกว่าที่อยู่ออฟฟิศ จนเกิดแรงกดดันที่มากขึ้นโดยไม่รู้สึกตัว และรู้สึกเหนื่อยมากขึ้นในการทำงาน

ผลเสียจากสภาวะ Digital Fatigue

ที่มา : pexels

  1. รู้สึก เจ็บตา ตาล้า แสบตา คันตา อาจจะส่งผลทำให้สายตาสั้น

  2. รู้สึกหมดพลังในการทำงาน เนื่องจากรู้สึกว่าแต่ละวันเต็มไปด้วยความซ้ำซากจำเจ

  3. ปวดหัวหรือไมเกรน

  4. เจ็บกล้ามเนื้อบริเวณต่างๆ

  5. ขาดสมาธิ เหม่อลอย และ คิดฟุ้งซ่านบ่อยขึ้น ทำให้ประสิทธิภาพในการทำงานลดลง

  6. หน้าตา เซื่องซึม และดูง่วงนอนตลอดเวลา

  7. ฉุนเฉียว หงุดหงิดง่าย

  8. รู้สึกสิ้นหวังเวลาจะเริ่มทำอะไรสักอย่าง

วิธีป้องกันสภาวะ Digital Fatigue

ที่มา : pexels

  1. วางแผนการทำงานให้เป็นระบบ: จัดวางแผนการทำงานของแต่ละวันก่อนเริ่มทำงาน เพื่อทำให้คุณรับรู้ถึงปริมานงานของคุณและยังสามารถกำหนดเวลาการทำงานได้อีกด้วย

  2. ลดการสัมผัสจากแสงสีฟ้า: แก้ไขง่ายๆโดยการสวมใส่แว่นตา หรือปรับแสงของหน้าจอให้พอเหมาะ และเมื่อเสร็จงานก็ควรหาอะไรอย่างอื่นที่ไม่ได้สัมผัสกับแสงสีฟ้าทำ

  3. จัดท่านั่งและตำแหน่งของจอภาพให้เหมาะสม: วางจอภาพให้อยู่ในระยะสายตาเพื่อหลีกเลี่ยงการนั่งหลังงอ

  4. พักสายตาจากการทำงาน: บางคนคิดว่าการทำงานคือการที่เราต้องทุ่มเทอยู่กับงานจนกว่างานจะสำเร็จ ซึ่งการหยุดพักก็ไม่ใช่เรื่องที่ผิด การพักสัก 5-10 นาทีระหว่างทำงาน จะช่วยให้เราผ่อนคลายขึ้น แต่อย่าพักบ่อยเกินไปจนทำงานไม่เสร็จละ

  5. ออกไปข้างนอก: การออกไปรับอากาศบริสุทธิ์ช่วยให้ร่างกายเรากลับมากระปรี้กระเปร่า โดยเฉพาะการได้ขยับตัวหรือออกกำลังกายเบาๆ

  6. รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพ: การรับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ จะช่วยเติมพลังงานให้คุณได้โดยที่คุณไม่รู้ตัว

  7. พูดคุย ปรึกษากับเพื่อนร่วมงาน: การสื่อสารระหว่างกันเป็นสิ่งสำคัญมาก แค่โทรหาหรือทักทายหรือพูดคุยเล็ก ๆ น้อย ๆ ในแชท จะช่วยทำให้คุณรู้สึกผ่อนคลายได้ดีทีเดียว

5 วิธีช่วยพนักงานไม่ให้เกิดภาวะ Digital Fatigue

ที่มา : pexels

1.ผลัดเข้ามาทำงานที่ออฟฟิศบ้าง

การที่ให้พนักงานได้กลับมาทำงานในออฟฟิศนั้นจะช่วยทำให้ตัวพนักงานรู้สึกไม่เบื่อหน่ายจำเจกับการทำงานอยู่แต่ที่บ้านเพียงอย่างเดียว ซึ่งการทำงานที่ออฟฟิศบ้างจะช่วยสร้างปฏิสัมพันธ์ การมีส่วนร่วม และความรู้สึกเป็นส่วนหนึ่งของทีมเพิ่มขึ้นอีกด้วย

2. มีช่วงเวลาให้พนักงานได้พูดคุยและปรึกษากัน

บริษัทจำเป็นต้องมีช่วงเวลาให้พนักงานได้พูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดเห็นกัน เพราะการพูดคุยปรึกษากันจะช่วยทำให้การทำงานมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น

3. ถามความเห็นจากพนักงาน

การถามความคิดเห็นของพนักงานและความรู้สึกในการทำงานที่บ้านอาจจะทำให้สามารถคิดแผนแก้ไขปัญหาต่างๆได้ง่ายกว่าที่คุณคิดแถมยังทำให้สามารถมองเห็นจุดบกพร่องที่อาจจะมองไม่เห็นก็เป็นได้

4. เตรียมพร้อมอุปกรณ์สำำหรับพนักงาน

หากมีนโยบายในการทำงานนอกสถานที่หรือที่บ้าน ทางบริษัทต้องทำการสนับสนุนอุปกรณ์การทำงานที่เหมาะสมให้แก่พนักงาน เพราะการที่อุปกรณ์การทำงานไม่เอื้ออำนวยจะทำให้พนักงานรู้สึกเบื่อหรือขี้เกียจทำงานได้

ขอบคุณทุกคนที่ได้เข้ามาอ่านบทความนี้หวังว่าจะได้ประโยชน์จากบทความนี้ไม่มากก็น้อยนะครับ และอย่าลืมติดตามบทความใหม่ๆจากเราทีม Flare Dash ขอบคุณครับ


สรุป

Digital Fatigue คือสภาวะ การเหนื่อนล้าทั้งร่างกายและจิตใจ ซึ่งมาจากการที่เราทำงานอยู่ในที่ที่ไม่เหมาะแก่การทำงานซึ่งเราสามารถทำการแก้ไขสิ่งนี้ได้โดยการ จัดเวลาการทำงานให้เป็นระบบ และพูดคุยปรึกษากันระหว่างคนในทีมเพื่อให้งานออกมามีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น

 

Flare Dash แอปพลิเคชันบันทึกเวลาทำงานของพนักงาน และติดตามเส้นทางด้วย GPS ผ่านสมาร์ทโฟน


หากสนใจ คลิกที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อติดต่อเราพร้อมรับสิทธิทดลองฟรี 14 วัน




Comments


bottom of page