แนวคิดขององค์กรนั้นส่งผลต่อการพัฒนาองค์กรและบุคคลากรภายในเป็นอย่างมาก หากองค์กรใดที่มีแนวคิดในการทำงานดี ก็จะส่งผลให้องค์กรพัฒนาได้ไกล แต่ในทางตรงข้ามหากแนวคิดขององค์กรใดที่ไม่เปิดกว้างมากพอ ก็อาจทำให้องค์กรพัฒนาได้ยากขึ้น
Fixed Mindset คืออะไร?
แนวความคิดแบบ Fixed Mindset เป็นแนวคิดแบบดั้งเดิมที่ยึดติดกับความสามารถของบุคคล เชื่อว่าบุคคลมีทักษะติดตัวมาแบบใดก็จะเป็นแบบนั้น และไม่สามารถพัฒนาได้
ซึ่งแนวความคิดแบบนี้จะขัดขวางการเติบโตของบุคคลากรและองค์กร ให้ไม่สามารถพัฒนาได้หรือพัฒนาได้ช้า จนในที่สุดธุรกิจอาจจะค่อยๆตายลงไป เนื่องจากไม่สามารถแข่งขันกับตลาดได้ทัน
ผลกระทบต่อองค์กรที่มีแนวคิดแบบ Fixed Mindset
พนักงานขาดความคิดสร้างสรรค์และไม่เกิดนวัตกรรมใหม่ๆ
เมื่อไม่ได้รับการพัฒนาหรือไม่สามารถต่อยอดได้ ทำให้พนักงานขาดความคิดสร้างสรรค์หรือเกิดการพัฒนานวัตกรรมใหม่ๆภายในองค์กร ไม่มีการเปลี่ยนแปลงในทางที่ดีขึ้น
พนักงานหมดโอกาสพัฒนา
เมื่อพนักงานไม่ได้เกิดการพัฒนาทักษะที่มีอยู่ให้ดีขึ้นและไม่มีการท้าทายในการทำงาน ทำให้พนักงานไม่มีศักยภาพในการทำงาน ส่งผลต่อประสิทธิภาพของงาน
ขาดการทำงานร่วมกัน
เมื่อต่างคนต่างทำงาน โดยขาดการสื่อสารและการระดมความคิด ความคาดหวังแบบรายบุคคลอาจทำให้พนักงานเกิดการแข่งขันกันเอง และบั่นทอนการทำงานซึ่งกันและกัน
สร้างทัศนคติเชิงลบภายในองค์กร
เมื่อไม่ได้รับการพัฒนาด้านความคิด ไม่ได้รับการส่งเสริมด้านความสัมพันธ์ภายในองค์กร อาจนำไปสู่การตำหนิ การวิจารณ์ และการปฏิเสธ ที่รุนแรงมากขึ้นในองค์กร
เป็นอุปสรรคต่อการปรับตัว
เมื่อพนักงานอยู่ในสภาวะที่ขาดแรงกระตุ้นในการทำงาน ทำให้เป็นอุปสรรคในการปรับตัวด้านธุรกิจให้ทันกับตลาด ขาดความยืดหยุ่นและไม่สามารถปรับตัวเข้ากับความท้าทายใหม่ๆได้
แรงจูงใจในการทำงานลดลง
เมื่อความกดดันในการทำงานเพิ่มมากขึ้น พนักงานอาจขาดแรงจูงใจในการทำงาน ซึ่งนำไปสู่การหมดไฟในการทำงานและลาออกในที่สุด
จะแก้ไขแนวคิดแบบ Fixed Mindset ได้อย่างไร?
ส่งเสริมแนวความคิดแบบ Growth Mindset
ส่งเสริมความคิดที่ว่าทุกคนสามารถพัฒนาได้ เพื่อกระตุ้นให้พนักงานท้าทายความสามารถในการทำงาน และมองว่าความล้มเหลวเป็นโอกาสในการเติบโต
เปิดโอกาสให้เรียนรู้และพัฒนา
เปิดโอกาสให้พนักงานได้เรียนรู้และพัฒนาทักษะของตน ให้รางวัลและชื่นชมสำหรับความสำเร็จหรือความพยายามของพนักงาน
สนับสนุนให้มีการทำงานร่วมกัน
สร้างสภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย พร้อมรับฟัง และแสดงความคิดเห็นภายในองค์กรได้ ช่วยให้พนักงานรู้สึกสบายใจ และมีความกล้าที่จะลองสิ่งใหม่ๆ
ส่งเสริมนวัตกรรมใหม่ๆ
สนับสนุนให้พนักงานลองแนวคิดในการทำงานใหม่ๆ และการสร้าง/ใช้นวัตกรรมใหม่ๆ ยอมรับความเสี่ยงในจุดนี้ได้แม้ว่าจะไม่ได้ผลก็ตาม
ติชมอย่างสม่ำเสมอ
ให้คำติชมกับพนักงานอย่างสม่ำเสมอและสร้างสรรค์ โดยมุ่งเน้นที่กระบวนการปรับปรุงพัฒนาให้พนักงานสามารถนำไปต่อยอดได้ ไม่ใช่มองแค่ผลลัพธ์
มีโมเดลแบบอย่างให้กับพนักงาน
ผู้บริหารควรเป็นต้นแบบนำร่องในการพัฒนาหรือการทำงานให้กับพนักงาน ให้เรียนรู้จากความล้มเหลว และกระตุ้นให้เกิดการแก้ไข/การเปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีภายในองค์กร
ภาพประกอบจาก : Freepik
Flare Dash แอปพลิเคชันบันทึกเวลาทำงานของพนักงาน และติดตามเส้นทางด้วย GPS ผ่านสมาร์ทโฟน
หากสนใจ คลิกที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อติดต่อเราพร้อมรับสิทธิทดลองฟรี 14 วัน
Comments