แน่นอนว่าในองค์กรเกือบทุกองค์กรจะต้องมีพนักงานที่มีความแตกต่างกันของช่วงวัย ซึ่งสิ่งนี้อาจส่งผลต่อการทำงาน รวมถึงวัฒนธรรมองค์กรของบริษัทนั้นๆด้วย การมี Generation Gap ที่แตกต่างกันมากจึงเป็นสิ่งที่องค์กรต้องให้ความสำคัญ
Generation Gap คืออะไร?
Generation Gap หรือช่องว่างระหว่างวัย เป็นคำที่ใช้อธิบายความแตกต่างทางทัศนคติ ความเชื่อ และพฤติกรรมระหว่างคนต่างวัย ซึ่งมักเกิดความขัดแย้งกันจากประสบการณ์ การเลี้ยงดู และค่านิยมที่แตกต่างกัน ตัวอย่างเช่น ทัศนคติหรือพฤติกรรมของคนรุ่นใหม่อาจได้รับอิทธิพลมาจากความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี หรือบรรทัดฐานทางสังคมที่เปลี่ยนแปลงไป ในขณะที่คนรุ่นเก่ามักมีความเชื่อหรือมุมมองแบบดั้งเดิมตามประสบการณ์ชีวิต
Generation Gap ที่แตกต่างกันมักส่งผลในเรื่องการสื่อสารที่ผิดพลาด เกิดความเข้าใจผิดได้ง่าย โดยเฉพาะในครอบครัวหรือที่ทำงาน ดังนั้น การหาแนวทางในการลดช่องว่างระหว่างวัยะช่วยให้เราสามารถเรียนรู้จากมุมมองของกันและกันได้มากยิ่งขึ้น
Generation Gap มีผลต่อการทำงานอย่างไรบ้าง?
การสื่อสาร
แน่นอนว่าการสื่อสารเป็นอันดับแรกที่ส่งผลต่อการทำงานระหว่างคนต่างวัย เนื่องจากการใช้ภาษา การตีความหมาย หรือการใช้รูปแบบการสื่อสารที่แตกต่างกัน ทำให้เกิดความเข้าใจผิดกันได้ง่าย เช่น คนรุ่นใหม่มักใช้เทคโนโลยีช่วยในการสื่อสาร แต่คนรุ่นเก่ามักจะชอบเจอหน้ากันมากกว่า
เทคโนโลยี
แน่นอนว่าคนรุ่นใหม่มักจะเข้าใจเทคโนโลยีมากกว่าและใช้งานได้คล่องกว่า ในขณะที่คนรุ่นเก่าอาจจะไม่ค่อยคุ้นเคนกับเครื่องมือและซอฟต์แวร์ใหม่ๆ ซึ่งสิ่งนี้เป็นสิ่งที่สร้างช่องว่างในการทำงาน
ค่านิยมในการทำงาน
ค่านิยมในการทำงานที่แตกต่างกันระว่างคนต่างรุ่น เช่น คนรุ่นใหม่มักใส่ใจกับ Work life balance มากขึ้น ในขณะที่คนรุ่นเก่ามักให้ความสำคัญกับความั่นคงของงาน ความแตกต่างนี้อาจนำไปสู่ความขัดแย้งและความเข้าใจผิดกันในที่ทำงาน
ภาวะความเป็นผู้นำ
พนักงานที่มีอายุมากอาจมีประสบการณ์มากกว่าและมักอยู่ในตำแหน่งผู้บริหาร ในณะที่คนอายุน้อยอาจเป็นพนักงานใหม่และมักจะขอคำแนะนำหรือขอคำปรึกษา
แนวทางการลด Generation Gap ภายในองค์กร
ส่งเสริมการสื่อสารระหว่างกัน
การส่งเสริมการสื่อสารระว่างพนักงานทุกช่วงวัยอยู่เสมอ ซึ่งองค์กรสามารถสร้างพื้นที่ปลอดภัยให้กับพนักงานได้มีโอกาศแลกเปลี่ยนความคิดเห็น แนวคิด และประสบการณ์ระหว่างกันและกัน โดยไม่ต้องเกรงใจหรือเกรงกลัวการตัดสินหรือคำวิจารณ์
ส่งเสริมความเข้าใจซึ่งกันและกัน
ส่งเสริมให้พนักงานเรียนรู้และเปิดรับมุมมองและค่านิยมของพนักงานต่างช่วงวัย ซึ่งช่วยลดความไม่เข้าใจกันลง และเพิ่มประสิทธิภาพในการสื่อสารให้ดีขึ้น
ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและการทำงานร่วมกัน
ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและการทำงานร่วมกันในโปรเจคต่างๆ สิ่งนี้สามารถช่วยให้พนักงานเรียนรู้จากกันและกัน และใช้ประโยชน์จากจุดแข็งและทักษะที่แตกต่างกัน
เปิดโอกาสในการฝึกอบรมและพัฒนา
ให้โอกาสในการฝึกอบรมและการพัฒนาทักษะที่พนักงานต้องการให้เหมาะสมกับช่วงวัยต่างๆ รวมถึงการฝึกอบรมเกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ทักษะด้านอารมณ์ และการพัฒนาตนเอง
การจัดการงานแบบยืดหยุ่น
วางแผนการให้พนักงานสามารถจัดการตารางเวลาทำงานได้แบบยืดหยุ่นมากขึ้น รวมถึงส่งเสริมการทำงานที่สามารถออนไลน์ได้จากระยะไกล เพื่อให้เกิดความคล่องตัวเมื่อเกิดสถานการณ์ต่างๆ
การให้คำปรึกษาซึ่งกันและกัน
ส่งเสริมการให้คำปรึกษาซึ่งกันและกันระหว่างพนักงานที่มีอายุน้อยกว่ากับพนักงานที่มีประสบการณ์มากกว่า เพื่อแลกเปลี่ยนความรู้เกี่ยวกับการทำงานและเทคโนโลยีต่างๆ เพื่อพัฒนาองค์ความรู้ของพนักงานภายในองค์กร
ภาพประกอบจาก : Freepik
Flare Dash แอปพลิเคชันบันทึกเวลาทำงานของพนักงาน และติดตามเส้นทางด้วย GPS ผ่านสมาร์ทโฟน
Comments