Micro Management เป็นการบริหารงานรูปแบบหนึ่ง ซึ่งเป็นการบริหารและจัดการการทำงานสำหรับหัวหน้างานหรือผู้บริหาร แล้ว Micro Management คืออะไร? ทำไมการบริหารในรูปแบบนี้ถึงบีบหัวใจคนทำงาน
Micro Management คืออะไร?
Micro Management คือ การบริหารงานแบบจุลภาค เป็นรูปแบบการบริหารงานระหว่างหัวหน้างานและพนักงานที่มีความใกล้ชิดกันมาก เข้ามาดูแลและควบคุมการทำงาน คอยสังเกตุรวมถึงติดตามการทำงานของพนักงานตลอดเวลา
ในทางกลับกันก็จะมีหลักบริหารงานแบบ Macro Management ซึ่งเน้นให้อิสระในการทำงานแก่พนักงาน โดยไม่เข้ามาก้าวก่ายหรือตรวจสอบมากมาย เช่นกัน
ข้อดี-ข้อเสียของการบริหารงานในรูปแบบ Micro Management
หากพูดถึงรูปการบริหารงานแบบ Micro Management แน่นอนว่าก็ย่อมมีข้อดีและข้อเสียอยู่เช่นกัน
ข้อดีของการบริหารงานในรูปแบบ Micro Management
หัวหน้างานมีความใส่ใจในงาน และมีความเข้าใจการทำงานของพนักงานอย่างลึกซึ้ง
สามารถให้คำปรึกษาในการทำงาน และแก้ไขปัญหาได้อย่างทันท่วงที
ลดความผิดพลาดในการทำงาน เนื่องจากมีการตรวจสอบการทำงานอยู่สม่ำเสมอ
งานเดินหน้าได้เร็ว เนื่องจากหัวหน้าสามารถอนุมัติได้ทันที
ข้อเสียของการบริหารงานในรูปแบบ Micro Management
พนักงานอาจเกิดความอึดอัด เนื่องจากหัวหน้างานเข้ามาติดตามการทำงานมากเกินไป
พนักงานรู้สึกไม่มีอิสระในการทำงาน เพราะถูกจับตามองจากหัวหน้างานตลอกเวลา จนบางครั้งอาจเกิดความระแวง
หัวหน้างานไม่มีเวลาไปทำงานในส่วนอื่น ซึ่งอาจจะมีความสำคัญไม่แพ้กัน
พนักงานรู้สึกขาดความมั่นใจ คิดว่าหัวหน้าไม่ไว้วางใจให้ทำงาน จนเป็นสาเหตุที่ทำให้พนักงานลาออกได้
ปรับการบริหารแบบ Micro Management ให้เหมาะสมกับการทำงาน
ใกล้ชิดกับพนักงานได้ แต่ต้องไม่ทำให้อึดอัด
เป็นเรื่องที่ดีไม่น้อย หากหัวหน้างานนั้นทำงานได้ใกล้ชิด เข้าถึง และเข้าใจการทำงานของพนักงาน แต่ก็ควรอยู่ในขอบเขตที่เหมาะสม ไม่สร้างความอึดอัด หรือทำให้พนักงานรู้สึกเหมือนกำลังโดนจับผิดอยู่ตลอดเวลา
ให้อิสระในการทำงานแก่พนักงานบ้าง
ให้โอกาสพนักงานได้ทำงานของตนตามที่ได้รับมอบหมาย แล้วจึงค่อยตรวจสอบหรือรายงานย้อนหลัง การที่พนักงานถูกควบคุมมากเกินไปอาจทำให้พนักงานเกิดความหวาดระแวง และไม่กล้าตัดสินใจ ซึ่งเป็นภาระที่หัวหน้างานเองจะต้องคอยตัดสินใจในทุกครั้ง
ติดตามการทำงานเป็นบางช่วงหรือที่จำเป็น
ใช้ Micro Management ในบางช่วงหรือบางงานที่จำเป็นต้องติดตามอย่างใกล้ชิด เช่น ได้รับโปรเจคสำคัญ หรือติดตามยอดขายของพนักงานขาย ส่วนงานอื่นๆที่มีการวางแผนงานไว้อยู่แล้ว ก็ปล่อยให้เป็นหน้าที่ของพนักงานที่ได้รับมอบหมาย และสามารถติดตามหรือตรวจสอบได้ภายหลัง
รูปแบบการทำงานไม่ว่าจะเป็นรูปแบบไหน ต่างก็มีข้อดีและข้อเสียที่แตกต่างกัน ดังนั้น หัวหน้างานควรปรับใช้ในแต่ละรูปแบบตามความเหมาะสม เพื่อให้สามารถทำงานร่วมกันกับพนักงานได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ
ภาพประกอบจาก : Freepick
Flare Dash แอปพลิเคชันบันทึกเวลาทำงานของพนักงาน และติดตามเส้นทางด้วย GPS ผ่านสมาร์ทโฟน
หากสนใจ คลิกที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อติดต่อเราพร้อมรับสิทธิทดลองฟรี 14 วัน
Comments