สำหรับวันนี้ เราจะพาทุกท่านไปทำความรู้จักกับคำว่า OKR ซึ่งหลายๆคนอาจจะพอได้คุ้นหูกันมาบ้างแล้ว วันนี้จะพาไปเจาะลึกว่า OKR นั้นคืออะไร และมีประโยชน์กับด้านใด
OKR คืออะไร?
OKR หรือ objective key result คือ วิธีการตั้งเป้าหมายเพื่อวัดผลความสำเร็จ ซึ่งเป็นหลักการที่ Google นำมาใช้ และ ประสบความสำเร็จนั่นเอง จึงทำให้บริษัทเทคโนโลยีอื่นๆ นำมาใช้ตามด้วย แต่จริง ๆ แล้ว Google ไม่ได้เป็นบริษัทแรกที่ใช้ สำหรับบริษัทที่ใช้เป็นบริษัทแรกเลยคือ Intel โดย MD ของ Intel ชื่อ “Andy Grove” เป็นคนเอามาใช้ในปี 1974 ซึ่งหลักการนี้ได้ช่วยให้ Intel ประสบความสำเร็จมาก จน Andy Grove ได้ชื่อว่าเป็น “บิดาแห่ง OKR” เลยนั่นเอง
หลักการสำคัญของ OKR ประกอบด้วย
การกำหนด objective เป็นการกำหนดรายไตรมาส หรือทุก 3 เดือน (ไม่ใช่รายปีเหมือนปัจจุบัน) ส่วนการวัดผล key result อาจจะวัดเป็นรายสัปดาห์ หรือรายเดือน
การกำหนด objective จะไม่เยอะมาก อยู่ที่ประมาณ 3-5 ข้อ รวมทั้งการกำหนด key result ด้วย ประมาณ 3 ข้อ ต่อหนึ่ง objective โดย key result จะกำหนดตามหลักการ SMART Goal
การกำหนด objective จะกำหนดจากระดับองค์กรลงมาสู่หน่วยงานและพนักงาน โดยต้องให้พนักงานมีส่วนร่วมในการกำหนด อย่างน้อย 50% โดยเป็นลักษณะผสมผสานระหว่าง top down และ bottom-up approach เพื่อให้เกิดความโปร่งใสนั่นเอง
OKRs ยืดหยุ่นได้เมื่อมีปัจจัยหรือเหตุการณ์ที่จำเป็นต้องปรับ OKR ก็ปรับตามได้
การกำหนดเป้าหมายตาม OKR จะตั้งไว้ที่ 60-70% ไม่ใช่ 100% เหมือนที่เราคุ้นเคย เหตุผลที่ตั้งไม่ถึง 100% ก็เพื่อให้พนักงานมีแรงขับเคลื่อน เพื่อทำให้ได้ดีกว่าเป้าหมายตลอดเวลา
การกำหนด OKR ทำเพื่อการเรียนรู้และพัฒนา
OKR มีประโยชน์ด้านใดบ้าง?
ช่วยให้พนักงานมีเป้าหมายมากขึ้น : OKR นั้นโดยส่วนมากจะมีการทำเป็นรอบ รอบละประมาณ 3 เดือน สิ่งสำคัญคือต้องมีการตั้งเป้าหมายที่ไม่ยากและไม่ง่ายจนเกินไป และยังต้องมีการติดตามและรีวิวผลอยู่อย่างสม่ำเสมอ ซึ่ง OKR นั้นจะไม่ถูกผูกกับการตัดเกรดประเมินผลงาน ทำให้พนักงานก็จะเกิดความรู้สึกท้าทายในการตั้งเป้าหมายที่ยากมากขึ้นนั่นเอง
โปร่งใสและยุติธรรมสำหรับทุกคน : Objective ของ OKR จะถูกแสดงแบบ public ซึ่งทุกคนสามารถเห็นได้ว่า OKR ของบริษัทและคนในทีมเป็นอย่างไร ทำให้ OKR เป็นระบบที่มีความโปร่งใสมากๆ ช่วยลดความซ้ำซ้อนของงานที่เกิดขึ้นในแต่ละแผนกได้อีกด้วย
ช่วยให้ทำผลงานดีขึ้น :OKR นั้นการตั้งเป้าหมายมักจะต้องคิดตั้งเป้าหมายด้วยตนเอง ทำให้พนักงานเกิดความรู้สึกอินและผูกพันกับเป้าหมายที่ตนเองตั้งไว้มากกว่า ส่งผลให้พนักงานมีเป้าหมายในการทำงานอย่างแท้จริง ไม่ใช่รู้สึกว่าตนเองมีเป้าหมายจากความรู้สึกถูกกดดันจากหัวหน้างาน และจากการที่มีการกำหนด key results ที่ใช้วัดผลอย่างชัดเจน
และนี่ก็คือความหมายรวมถึงประโยชน์ของ OKR ที่เรานำมาฝากกัน หวังว่าจะเป็นเกร็ดความรู้ให้กับหลายๆคนเข้าใจคำว่า OKR ได้มากขึ้น
ขอบคุณภาพประกอบ : Freepick
Flare Dash แอปพลิเคชันบันทึกเวลาทำงานของพนักงาน และติดตามเส้นทางด้วย GPS ผ่านสมาร์ทโฟน
หากสนใจ คลิกที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อติดต่อเราพร้อมรับสิทธิทดลองฟรี 14 วัน