คำว่า PDPA หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลนั้น ช่วงนี้หลายๆคนคงจะได้ยินกัน เพราะเริ่มมีการประกาศใช้แบบจริงจังเมื่อวันที่ 1 มิถุนายน 2565 ที่ผ่านมา
แต่เอาจริงๆแล้วคำว่า PDPA กับ HR นั้นเรียกได้ว่าหากใครทำงานด้านนี้ต้องศึกษาไว้ และรู้จักพระราชบัญญัตินี้ให้ได้มากที่สุด ดังนั้นวันนี้เราจะพาไปดูกันว่า PDPA และ HR มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไรบ้าง
PDPA คืออะไร?
PDPA (Personal Data Protection Act) หรือ พระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล เป็นพระราชบัญญัติคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล พ.ศ. 2562 เพื่อให้บริษัท พนักงาน และผู้ที่เกี่ยวข้องตระหนักถึงความสำคัญของการคุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคลให้มีความปลอดภัยมากขึ้น ซึ่งในปัจจุบันนี้นั้น บริษัทหรือองค์กรต่างๆ อาจได้รับหรือเข้าถึงข้อมูลส่วนบุคคล (Personal Data) ของลูกค้าหรือผู้ใช้งานมากขึ้นและหลากหลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นการทำธุรกรรมผ่าน Mobile-Banking การสมัครสมาชิกบนเว็บไซต์ หรือการขอเข้าถึงตำแหน่งที่ตั้งและ GPS บนมือถือ เป็นต้น ด้วยเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้น จึงทำให้เกิดการสร้างกฎหมาย PDPA (Personal Data Protection Act: PDPA) หรือ พ.ร.บ.คุ้มครองข้อมูลส่วนบุคคล ขึ้นมาใช้นั่นเอง
PDPA กับ HR มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร?
PDPA นั้นบอกเลยว่ามีความเกี่ยวและเชื่อมโยงกับ HR เป็นอย่างมาก เพราะแผนก HR นั้นต้องมีการเก็บรวบรวมข้อมูลส่วนบุคคลต่างๆ และนอกจากนี้อาจจะต้องมีการเปิดเผยข้อมูลอีกด้วย
ซึ่งตัวอย่างข้อมูลที่ HR ใช้ในการทำงานนั้น ไม่ว่าจะเป็น
ชื่อนามสกุล เลขประจำตัวประชาชน ที่อยู่
สลิปเงินเดือนต่างๆ
ประวัติการจ้างงาน และข้อมูลการทำงานที่เกี่ยวข้อง
ผลการประเมินงานของพนักงาน
ข้อมูลการขาดลามาสายของพนักงาน เป็นต้น
และที่สำคัญเลยคือ PDPA นั้นไม่ได้มีผลแค่เฉพาะกับข้อมูลในรูปแบบเอกสารเท่านั้น แต่ยังรวมไปถึงไฟล์บนคอมพิวเตอร์และระบบคลาวด์ด้วย บอกเลยว่า HR ต้องมีวิธีการเก็บรักษาข้อมูลที่ดีเพียงพอ และรอบคอบในการจัดการข้อมูล เพราะไม่เช่นนั้นหากข้อมูลหลุดหรือรั่วไหลออกไป จะถือว่าผิดกฎหมายได้
เป็นอย่างไรกันบ้างสำหรับข้อมูล PDPA ที่นำมาฝากเป็นเกร็ดความรู้กัน บอกเลยว่าเป็นเรื่องที่ใกล้ตัวมากๆเลยโดยเฉพาะกับชาว HR นั่นเอง และหวังว่าบทความนี้จะเป็นประโยชน์ให้ไม่มากก็น้อย
ขอบคุณภาพประกอบ : Freepick
Flare Dash แอปพลิเคชันบันทึกเวลาทำงานของพนักงาน และติดตามเส้นทางด้วย GPS ผ่านสมาร์ทโฟน
Comments