top of page

Tired All The Time (TATT) คืออะไร? ทำไมทำอะไรก็เหนื่อยเมื่อยเพลีย

เคยไหม? มาทำงานทีไรก็มีอาการเหนื่อย เมื่อย เพลียตลอดเวลาไม่ว่าจะทำอะไร และเริ่มรู้สึกว่าอาการเหล่านี้ส่งผลกระทบต่อการทำงานมากขึ้น หากพบว่ามีอาการดังกล่าวควรรีบหาวิธีแก้ไขหรือปรึกษาแพทย์


TATT คืออะไร? และมีอาการอย่างไร?

อาการ Tired All The Time (TATT) เป็นอาการอ่อนล้าเรื้อรังและรู้สึกอ่อนเพลียอยู่ตลอดเวลาแม้ว่าจะนอนหลับหรือพักผ่อนอย่างเพียงพอแล้วก็ตาม ความเหนื่อยล้าอาจเกิดขึ้นทางร่างกายหรือจิตใจ และอาจรบกวนกิจกรรมประจำวัน หรือส่งผลต่อการทำงาน


อาการของ TATT มีดังนี้

  • รู้สึกง่วงหรืออยากนอนตลอดทั้งวัน

  • ไม่มีสมาธิและจดจ่อกับอะไรไม่ได้นาน

  • ขาดพลังและแรงจูงใจ

  • รู้สึกหงุดหงิดหรืออารมณ์แปรปรวน

  • มีปัญหาเรื่องความจำหรือหลงลืมง่าย

  • กล้ามเนื้ออ่อนแรงหรือมีอาการปวดเมื่อย

  • ปวดหัวหรือไมเกรน

  • ไม่มีความต้องการทางเพศ

  • อ่อนไหวต่อความเครียด

นอกจากนี้อาจมีปัจจัยอื่นๆร่วมด้วย เช่น ภาวะซึมเศร้า โลหิตจาง หรือปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ เบาหวาน เป็นต้น


ผลเสียของ TATT ต่อการทำงาน

อาการ TATT มีผลกระทบต่อความสามารถในการทำงาน เนื่องจากส่งผลต่อประสิทธิภาพในการทำงาน และสมาธิโดยตรง อาจทำให้ทำงานผิดพลาดได้มากขึ้นหรือคุณภาพงานลดลง

บุคคลที่มีอาการ TATT จะขาดแรงกระตุ้นหรือแรงจูงใจในการทำงาน ทำให้ไม่สามารถจัดการตารางงานหรือทำงานได้สม่ำเสมอ และอาจมีการขาดงานอยู่บ่อยครั้ง นอกจากนี้ยังอาจส่งผลกับความสัมพันธ์ระหว่างเพื่อนร่วมงานในด้านการสื่อสารจนอาจเกิดความขัดแย้งได้ง่าย

โดยรวมแล้วอาการ TATT นั้นส่งผลเสียต่อการปฏิบัติงาน ทำให้บุคคลนั้นไม่ได้รับการยอมรับ และไม่มีโอกาสในการก้าวหน้าในอาชีพการงาน จึงควรรีบหาสาเหตุและหาแนวทางในการแก้ไขอาการนี้ให้ดีขึ้น เพื่อช่วยให้มีประสิทธิภาพในการทำงานมากขึ้น


วิธีป้องกันอาการ TATT

  • นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ

ควรนอนหลับให้เพียงพอในแต่ละวัน อาจจะจัดตารางการนอนหลับ และรักษาอนามัยในการนอน เช่น หลีกเลี่ยงการกิน/ดื่มคาเฟอีน และการใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ก่อนนอน

  • ทางอาหารที่ดีต่อสุขภาพ

ทางอาหารที่อุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระที่สามารถช่วยกระตุ้นสมอง สร้างพลังงาน และช่วยให้ไม่เหนื่อยล้า

  • ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ

การออกกำลังกายเป็นประจำสามารถกระตุ้นพลังงานในร่างกายได้ รวมถึงส่งผลต่ออารมณ์ ฮอร์โมนต่างๆ และช่วยให้สุขภาพกายแข็งแรง

  • จัดการกับความเครียด

ความเครียดสามารถนำไปสู่ความเหนื่อยล้าได้ ดังนั้น จึงจำเป็นต้องหาวิธีจัดการกับความเครียด เช่น การทำสมาธิ โยคะ หรือการฝึกหายใจ เพื่อช่วยให้ผ่อนคลาดได้มากขึ้น

  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์และสารเสพติด

แอลกอฮอล์และสารเสพติดบางชนิดมีผลต่อการนอนหลับ และอารมณ์ของผู้ใช้ รวมถึงทำให้ร่างการอ่อนล้าเมื่อไม่ได้รับสารกระตุ้นเหล่านี้

  • รักษาโรคที่มีความเกี่ยวเนื่องกัน

บางครั้งอาการอ่อนล้าอาจเกิดจากโรคประจำตัว เช่น เบาหวาน โลหิตจาง หรือปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ จึงควรดูแลและรักษาโรคเหล่านี้ควบคู่กันไปด้วย

  • พักสมอง

หยุดพักให้ร่างกายได้เติมพลังบ้าง โดยเฉพาะเมื่อต้องนั่งทำงานเป็นเวลานานทำให้เมื่อยล้าร่างกาย ออกมาเดินยืดเส้นยืดสาย จะช่วยให้สมองตื่นตัวมากขึ้น

  • ปรึกษาแพทย์

หากทำตามวิธีดังกล่าวแล้วไม่ได้ผล ให้ลองปรึกษากับแพทย์เพื่อรับคำปรึกษาเพื่อปรับเปลี่ยนวิถีชีวิต


อย่าปล่อยให้อาการเหล่านี้รบกวนจิตใจและร่างกายของคุณ หากพบว่ามีอาการเหล่านี้ควรรีบแก้ไขหรือปรึกษาแพทย์ทันที เพื่อหยุดผลกระทบจากอาการเหนื่อยล้าที่อาจเกิดขึ้นในอนาคต



ภาพระกอบจาก : Freepik
 

Flare Dash แอปพลิเคชันบันทึกเวลาทำงานของพนักงาน และติดตามเส้นทางด้วย GPS ผ่านสมาร์ทโฟน


หากสนใจ คลิกที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อติดต่อเราพร้อมรับสิทธิทดลองฟรี 14 วัน


bottom of page