สำหรับหลายๆคนในช่วงนี้ส่วนใหญ่คง Work Form Home หรือทำงานจากที่บ้าน เพื่อป้องกันความเสี่ยงของโควิด-19 นั่นเอง
แต่สิ่งหนึ่งที่อาจเกิดขึ้นได้ไม่รู้ตัวในช่วงนี้นั่นก็คือภาวะ Zoom Fatigue หรือการอ่อนล้าจากการประชุมออนไลน์ได้ วันนี้จะพาไปดูกันว่าเกิดได้จากอะไร และแก้ไขได้อย่างไรบ้าง
Zoom Fatigue คืออะไร
สำหรับอาการ Zoom Fatigue หรือก็คือภาวะการอ่อนล้าจากการประชุมออนไลน์นั้น ความเสี่ยงในการพบนั้นจะพบได้จากผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย ซึ่งมันมีอาการ อ่อนล้า เมื่อย เหนื่อย ออนเพลีย หลังจากที่คุณมีการประชุมออนไลน์ ซึ่งสาเหตุนั้นเกิดได้จากหลายปัจจัย
สาเหตุการเกิด Zoom Fatigue
1. เกิดจากการใช้ความคิดอย่างหนัก
การใช้ความคิดอย่างหนักหน่วง ในช่วงระหว่างการประชุมออนไลน์นั้น ก็เสี่ยงก่อให้เกิดความอ่อนเพลีย เหนื่อยล้าได้เป็นอย่างมาก เพราะหลายๆคนอาจจะใช้ความในการเตรียมตอบคำถาม การเตรียมรับมือการข้อคิดเห็นต่างๆ นั่นเอง
2. เกิดจากการใช้สมาธิเพ่งเล็งมากเกินไป
การใช้สมาธิคอยสังเกตพฤติกรรมคนรอบข้าง หรือเพ่งเล็งหน้าจอเป็นระยะเวลานาน ก็ส่งผลให้เกิดอาการ Zoom Fatigue หรือก็คือภาวะการอ่อนล้าจากการประชุมออนไลน์ได้เช่นกัน
3. เกิดจากความเงียบหรือบรรยากาศในการประชุม
บรรยากาศที่เงียบเกินไปสำหรับการประชุมออนไลน์นั้น จะทำให้เกิดความรู้สึกอึดอัดมากกว่าการประชุมแบบปกติ ดังนั้น ผู้เข้าประชุมจึงต้องใช้พลังงานสูงในการชวนคุย หรือพยายามไม่ทำให้เกิดความอึดอัดในการประชุม จึงส่งผลให้อ่อนล้าได้
4. เกิดจากความกังวลเรื่องความพร้อมก่อนประชุม
สำหรับหลายๆคนนั้น อาจมีความกังวลหรือความตื่นเต้นก่อนเริ่มทำการประชุมออนไลน์ กลัวอาจจะพรีเซนต์หรืออธิบายได้ไม่ดีพอ ก็ส่งผลทำให้เกิดความเครียด กดดันหรือ ภาวะ Zoom Fatigue ได้
เกิดจากความกังวลในการถูกเป็นที่จับจ้องระหว่างประชุม หลายๆครั้งการที่ต้องเป็นผู้นำในการประชุม หรือเป็นผู้อภิปรายหลัก กลัวว่าจะทำออกมาได้ดีหรือไม่ คนอื่นจะมองอย่างไร ทุกคนในที่ประชุมจะเข้าใจไปในทิศทางเดียวกันหรือไม่ ทำให้เกิดการประหม่า จนทำให้พยายามใช้พลังงานในด้านการพูดให้ทุกคนเข้าใจนั่นเอง
วิธีแก้ไขหรือลดภาวะ Zoom Fatigue
1. เพิ่มระยะห่างจากหน้าจอ และใช้แสงที่ช่วยถนอมสายตา การเพิ่มพื้นที่การนั่ง ให้มีระยะห่างจากหน้าจอมากขึ้น และลดแสงหรือใช้แสงหน้าจอที่ช่วยถนอนสายตาก็เป็นเรื่องที่ช่วยให้ลดอาการตาล้า และช่วยผ่อนคลายได้ดีในระดับหนึ่งเลยทีเดียว
2. นั่งทำสมาธิ ก่อนเข้าประชุมสักประมาณ 10-20 นาที การเสริมสร้างสมาธิในตนเองก่อนเริ่มประชุม ก็เป็นสิ่งที่ช่วยให้เรามีสมองที่ปลอดโปร่ง ความจำดีขึ้น ลดความตึงเครียดและความประหม่าก่อนที่ประชุมออนไลน์ได้
3. เตรียมพร้อมและปรึกษากับเพื่อนในทีมก่อน
หากต้องมีการพรีเซนต์ร่วมกันหลายคน ควรมีการฝึกซ้อมหรือเตรียมพร้อมก่อน ว่างเราต้องพูดต่อจากใคร ช่วงไหน จะทำให้เกิดความลื่นไหลในการพรีเซนต์ และลดความกดดันได้ดีมากยิ่งขึ้นนั่นเอง
4. ใช้การประชุมด้วยเสียงแทนเพื่อลดความประหม่า และสุดท้าย การที่ประชุมด้วยเสียงจะลดความตึงเครียดได้ดีกว่า เพราะจะช่วยให้ผู้เข้าประชุมรู้สึกเป็นอิสระมากขึ้น ไม่ต้องเขินอาย และประหม่าจากการสบตา แต่ทั้งนี้ทั้งนั้นต้องขึ้นอยู่กับผู้เข้าร่วมคนอื่นๆด้วย ว่าเห็นด้วยกันใช้เสียงอย่างเดียวหรือไม่
และนี่ก็คืออาการของภาวะ Zoom Fatigue หรือการอ่อนล้าจากการประชุมออนไลน์นั่นเอง หากใครที่เข้าข่ายหลายข้อที่กล่าวมา แนะนำให้ลองใช้วิธีที่แก้ไขที่แนะนำไปข้างต้นเพื่อช่วยลดปัญหากันดูนะคะ
ขอบคุณภาพประกอบ : Freepick
Flare Dash แอปพลิเคชันบันทึกเวลาทำงานของพนักงาน และติดตามเส้นทางด้วย GPS ผ่านสมาร์ทโฟน
หากสนใจ คลิกที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อติดต่อเราพร้อมรับสิทธิทดลองฟรี 30 วัน
Comments