top of page

มาทำความรู้จัก Setup To Fail Syndrome ทำงานอะไรไปก็ไม่มีใครเห็นค่าคุณ

  • รูปภาพนักเขียน: Flare Admin
    Flare Admin
  • 27 ก.พ. 2566
  • ยาว 1 นาที

เคยไหม? ไม่ว่าจะทำดีแค่ไหนก็ไม่มีใครเห็นคุณค่า ทำงานอะไรไปก็โดนหัวหน้าด่าตลอด มาทำความรู้จักกับภาวะ Setup To Fail Syndrome อาการเป็นอย่างไร? และจะป้องกันได้อย่างไร?


Setup To Fail Syndrome คืออะไร?

ภาวะ Setup to fail syndrome เป็นสภาวะที่บุคคลหรือกลุ่มของบุคคล ถูกกำหนดให้ล้มเหลวในการทำงานหรือเป็นความล้มเหลวที่ไม่ได้เจตนา ซึ่งสร้างความไม่พึงพอใจต่อหัวหน้างานหรือเพื่อนร่วมงาน

โดยมีจุดสังเกตุมีหลายอย่าง เช่น ไม่ได้รับการสนับสนุนด้านการทำงาน ทรัพยากร หรือไม่มีกำหนดทิศทางการทำงานให้ชัดเจน หรือผ่านความคาดหวังและเป้าหมายที่ไม่เป็นจริง ผลลัพธ์ที่ได้คือสูญเสียขวัญกำลังใจ ส่งผลต่อประสิทธิภาพการทำงาน และทำให้เกิดความล้มเหลวได้ง่าย


อาการของ Setup To Fail Syndrome

อาการของบุคคลกรือกลุ่มคนที่มีภาวะ Setup To Fail Syndrome อาจมีลักษณะแตกต่างกันออกไป ดังนี้

  • ขาดเป้าหมายหรือความคาดหวังที่ชัดเจน

  • ทรัพยากรไม่เพียงพอหรือขาดแรงสนับสนุนในการทำงานให้สำเร็จ

  • ทิศทางการทำงานหรือความสำคัญในการทำงานเปลี่ยนแปลงบ่อยครั้ง

  • มีกำหนดเวลาและวัตถุประสงค์ในงานที่ไม่ชัดเจน

  • ได้รับคำวิจารณ์เชิงลบ หรือบั่นทอนจิตใจจากหัวหน้างานหรือเพื่อนร่วมงานอยู่เสมอ

  • มีความรู้สึกโดดเดี่ยวหรือขาดการทำงานเป็นทีม

  • สมาชิกในทีมเริ่มมีการผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนหรือขาดงานเป็นประจำ

  • แรงจูงใจในการทำงานลดลง

  • มีความยากลำบากในการทำงานเพื่อให้สำเร็จผลหรือมีประสิทธิภาพ

  • ล้มเหลวในการบรรลุวัตถุประสงค์ของการทำงาน แม้จะพยายามอย่างเต็มที่แล้วก็ตาม

วิธีป้องกัน Setup To Fail Syndrome

  • สอบถามเรื่องเป้าหมายและจุดประสงค์การทำงานให้ชัดเจน

ตรวจสอบให้แน่ใจว่าบริษัทคาดหวังอะไรจากพนักงาน รวมถึงลักษณะของเป้าหมายและความสำเร็จที่องค์กรต้องการ ซึ่งจะช่วยให้คุณสามารถกำหนดเป้าหมายการทำงานได้ชัดเจน และสามารถประเมินผลการทำงานได้

  • จัดหาทรัพยากรและแรงสนับสนุนให้เพียงพอ

ตรวจสอบว่าองค์กรณ์มีทรัพยากรและการสนับสนุนด้านการทำงานเพียงพอหรือไม่ เพื่อให้งานสำเร็จตามเป้าหมายอาจต้องจัดหาด้านอุปกรณ์ การฝึกอบรม และการเข้าถึงข้อมูล/เทคโนโลยีต่างๆให้พร้อม

  • ส่งเสริมการทำงานเป็นทีมและการทำงานร่วมกัน

สร้างสภาพแวดล้อมในการทำงานร่วมกันเป็นทีมที่สามารถแสดงความคิดเห็น และช่วยเหลือการทำงาน สร้างสภาพแวดล้องเชิงบวก ให้พนักงานู้สึกสบายใจที่จะทำงานร่วมกัน

  • หลีกเลี่ยงการทำงานที่มีจุดประสงค์ไม่ชัดเจน

ไม่สร้างความคาดหวังและจุดมุ่งหมายที่ไม่ชัดเจนหรือเป้าหมายที่สูงเกินความเป็นจริง หลีกเลี่ยงการกดดันในการทำงานที่มากเกินไป

  • ส่งเสริมด้านการสื่อสารภายในองค์กร

ส่งเสริมด้านการสื่อสารของพนักงานภายในองค์กรให้สามารถสื่อสารกันได้อย่างตรงไปตรงมาระหว่างหว่างหัวหน้างาน พนักงานในแผนก และเพื่อร่วมงาน เพื่อช่วยในการแก้ไขปัญหาภายในองค์กร

  • ส่งเสริมทักษะการทำงานของพนักงาน

เปิดโอกาสให้พนักงานได้พัฒนาทักษะด้านใหม่บ้าง อาจจัดอบรมพัฒนาการทำงาน หรือมีการจัดกิจกรรม Workหhop ให้พนักงานได้เรียนรู้ทักษะใหม่ๆ

  • ชื่นชมและให้รางวัลเมื่อทำงานสำเร็จ

ยกย่องและให้รางวัลบุคคล/กลุ่มบุคคลที่ทำผลงานออกมาได้ดี และร่วมแสดงความยินดีเมื่อทีมประสบผลสำเร็จในการทำงาน

  • หากมีปัญหา ควรรีบแก้ไขปัญหาตั้งแต่เนิ่นๆ

  • หากคุณเป็นหัวหน้างาน ควรทำตัวเป็นตัวอย่างที่ดี



ภาพประกอบ : Freepik
 

Flare Dash แอปพลิเคชันบันทึกเวลาทำงานของพนักงาน และติดตามเส้นทางด้วย GPS ผ่านสมาร์ทโฟน


หากสนใจ คลิกที่ลิงค์ด้านล่างเพื่อติดต่อเราพร้อมรับสิทธิทดลองฟรี 14 วัน


Flare Dash (6).png
  • Facebookの社会的なアイコン

© Flare Inc. / Flare (Thailand) Co.,Ltd.

bottom of page